ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย
“พระบรมธาตุหริภุญชัย หนึ่งในแปดแห่งจอมเจดีย์ ปูชนียสถานสำคัญ เมื่อครบรอบปีเวียนมาถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ วันวิสาขบูชา ชาวเหนือเรียกขานตรงกันว่า วันแปดเป็ง พุทธศาสนิกชนใกล้ ไกล หลั่งไหลร่วมงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย สักการบูชาพระบรมธาตุฯ สืบไป”
พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นเจดีย์องค์เก่าแก่องค์หนึ่งในล้านนา ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอาทิตยราช กษัตรย์วงศ์รามัญผู้ครองนครลำพูนได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๔๔๐ นับจนถึงปัจจุบันก็มีอายุกว่า ๑๐๐๐ ปี ชื่อของวัดพระธาตุหริภุญชัย มาจากชื่อของเมืองหริภุญชัย ซึ่งในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จมาบิณฑบาตได้แวะรับฉันลูกสมอที่ชาวลั๊วะนำมาถวายและทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้จะมีผู้มาสร้างเมืองและตั้งชื่อว่า “หริภุญชัยนคร” โดนหริภุญชัยนั้นแปลว่า เมืองที่พระพุทธเจ้าเคยเสวยลูกสมอ
งานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุมักจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๙ ค่ำ เป็นต้นไป ซึ่งพุทธศาสนิกชนจากทั่วทุกสารทิศจะหลั่งไหลมาร่วมงารสรงน้ำพระธาตุ มีการเตรียมข้าวของ เรียกว่า “ตาครัว” ถือเป็นการรวมญาติพี่น้องให้ได้มาพบปะเยี่ยมเยียน โดยในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ จะมีพิธีฝังเสาสำหรับผูกเชือกดึงหม้อน้ำสรง ชาวบ้านเรียกว่า เสาก๊างน้ำ ในวันนี้ฝนมักจะตก ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่า หลังจากฝังเสาก๊างน้ำแล้ว เทวดาจะต้องสรงน้ำพระธาตุก่อนใคร เมื่อเสร็จงานเรียบร้อยแล้ว เสาก๊างน้ำจะถอดเก็บรักษาไว้
ตอนบ่ายของวันที่ ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ประชาชนจากทั่วสารทิศร่วมขบวนแห่นำน้ำสรงพระราชทาน พร้อมเครื่องสักการบูชาและน้ำทิพย์ดอยขะม้อไปยังวัดพระธาตุหริภุญชัยวรวิหาร แล้วทำพิธีถวายสักการะโดยคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ หลังจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน จะทำพิธีสรงน้ำพระธาตุโดยสรงน้ำพระราชทานก่อน ต่อจากนั้นประชาชนจึงเข้าสรงน้ำ เมื่อน้ำสรงเต็มหม้อประชาชนจะช่วยกันดึงเชือกให้หม้อน้ำสรงเลื่อนขึ้นไปยังองค์พระธาตุ ซึ่งบนองค์พระธาตุ มีชายแต่งตัวชุดขาวคล้ายพราหมณ์คอยรับน้ำสรงเพื่อนำไปสรงรอบๆ องค์พระธาตุ เรื่อยไปจนคล้อยค่ำ
– วันเวลาการจัดงาน วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือของทุกปี หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า วันแปดเป็ง ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ของภาคกลาง หรือ วันวิสาขบูชา
– สถานที่จัดงาน วัดพระธาตุหริภุญชัยวรวิหาร อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ภาคเหนือ ตอนบน มีทั้งหมด 9 จังหวัด ได้แก่
1. จังหวัดเชียงราย
2. จังหวัดเชียงใหม่
3. จังหวัดน่าน
4. จังหวัดพะเยา
5. จังหวัดแพร่
6. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
7. จังหวัดลำปาง
8. จังหวัดลำพูน
9. จังหวัดอุตรดิตถ์
1. จังหวัดตาก
2. จังหวัดพิษณุโลก
3. จังหวัดสุโขทัย
4. จังหวัดเพชรบูรณ์
5. จังหวัดพิจิตร
6. จังหวัดกำแพงเพชร
7. จังหวัดนครสวรรค์
8. จังหวัดอุทัยธานี
สวย
ตอบลบสวย
ตอบลบ